วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รูปภาพ โรงพยาบาล

ตัวอย่างแบนเนอร์ บัตรคอนเสิร์ต LADY GAGA





เว็บแบนเนอร์ (web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์
เว็บแบนเนอร์จะปรากฏขึ้น เมื่อหน้าเว็บที่อ้างถึงภาพนี้ถูกดาวน์โหลดไปยังเว็บเบราว์เซอร์ เหตุการณ์นี้เรียกว่า impression และเมื่อผู้เข้าชมคลิกที่แบนเนอร์ ระบบจะนำผู้เข้าชมไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณา เหตุการณ์นี้เรียกว่า click through ในหลายกรณีที่เว็บแบนเนอร์จะถูกส่งมาจากเซิร์ฟเวอร์โฆษณาส่วนกลาง (central ad server)

เมื่อผู้โฆษณาตรวจดูบันทึกการดาวน์โหลด และทราบว่าผู้เข้าชมนั้นได้เข้าเยี่ยมชมเว็บของผู้โฆษณาโดยการคลิกแบนเนอร์ ผู้โฆษณาจะส่งค่าตอบแทนในอัตราเล็กน้อยให้กับผู้ที่รับฝากโฆษณา ผู้ให้บริการเนื้อหาสามารถนำเงินที่ได้จากการจ่ายค่าตอบแทนนี้ไปจัดการค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีกต่อหนึ่ง

เนื้อหาที่ต้องการสื่อในเว็บแบนเนอร์ก็คล้ายกับป้ายโฆษณาในชีวิตจริง คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าหรือคนทั่วไปทราบว่ามีสินค้าหรือบริการอะไรในปัจจุบัน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ใด เว็บแบนเนอร์นั้นอาจจะให้ผลของการโฆษณาเผยแพร่ที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และความสนใจของผู้เยี่ยมชม

แต่ผู้เล่นอินเทอร์เน็ตหลายคนก็กลับมองว่าแบนเนอร์โฆษณาเหล่านี้เป็นที่รบกวนอย่างมาก เพราะว่าเว็บแบนเนอร์จะแย่งจุดสนใจออกไปจากเนื้อหาจริง ๆ ที่อยู่ในหน้าเว็บนั้น เนื่องจากจุดประสงค์ของแบนเนอร์ตั้งใจที่จะดึงดูดความสนใจอยู่แล้วจึงอาจทำให้รบกวนการเล่น หรือด้วยเหตุผลว่าสิ้นเปลืองแบนด์วิดท์ โดยเฉพาะกับแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ เว็บเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ จึงมักจะมีฟังก์ชันให้ปิดหน้าต่างป๊อปอัปหรือบล็อกรูปภาพจากเว็บไซต์ที่โฆษณา หรืออีกทางหนึ่งคือเรียกใช้งานผ่านพร็อกซีที่สามารถบล็อกโฆษณาได้

เว็บแบนเนอร์มีขนาดมาตรฐานหลายขนาด เพื่อให้ใช้กับการจัดวางบนหน้าเว็บที่แตกต่างกัน ขนาดมาตรฐานมีดังต่อไปนี้ (ในหน่วยพิกเซล กว้าง×สูง) [1]

แบนเนอร์แนวนอนและปุ่ม
Leaderboard 728×90
Full banner / Impact banner 468×60
Half banner 234×60
Button 1 120×90
Button 2 120×60
Micro bar 88×31
Micro button 80×15
Vertical banner 120×240
Square button 125×125
แบนเนอร์แนวตั้งสูงพิเศษ
Thin skyscraper 120×600
Standard skyscraper 160×600
Half-page 300×600
ตัวอย่างไตเติ้ลโฆษณา รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง



สื่อไตเติ้ลรายการ" (Title)

ส่วนประกอบรายการ (Program components) อันได้แก่ ไตเติ้ล (Title) ตัวอย่างรายการ (Menu) อินเตอร์ลูดหรือคีย์ซีน (Interlude / Key scene) และท้ายรายการ (end credit)

คุณลักษณะต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นไตเติ้ล ได้แก่
1.รูปแบบการนำเสนอ

1.1 การใช้ชื่อรายการ มีการใช้เฉพาะชื่อรายการเท่านั้น
1.2 การใช้สัญลักษณ์ เป็นสื่อที่ใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
1.3 การนำเสนอบุคคล
1.4 การใช้ภาพแสดงเนื้อหา
1.5 การสร้างโครงเรื่อง

2.ลักษณะของภาพ

2.1 ชนิดภาพ
2.2 มุมมองภาพที่ปรากฏมักเป็นภาพประเภท
-Simple Shot คือเป็นภาพที่มีเพียงวัตถุเท่านั้นที่เคลื่อนไหว
-Developing Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
-Complex Shot คือเป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
2.3 ลำดับภาพ คือ วิธีการเรียงร้อยภาพเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสื่อสารไปยังผู้ชม
- การซ้อนภาพ
- การตัดภาพ
- การจางซ้อนภาพ
- การกวาดภาพ

3.ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง

ไตเติ้ลรายการมีการใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนสารอันได้แก่ พื้นที่ เส้น รูปร่าง ความเข้มสี การเคลื่อนไหว และจังหวะ

3.1 พื้นที่
3.2 เส้น
3.3 รูปร่าง
3.4 สีและความเข้มสี
3.5การเคลื่อนไหวและจังหวะ

4.ตัวอักษรชื่อรายการ

ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของไตเติ้ลรายการ ขนาดตัวอักษรที่นิยมใช้คือ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 6 ของความสูงของจอโทรทัศน์ ตัวอักษรรายการมักใช้สีพื้นเพียงสีเดียว และมีการใช้ขอบตัวอักษรชื่อรายการและความหนาของตัวอักษรชื่อ

5.ลำดับการนำเสนอ
มีโครงสร้างดังนี้ สถานี - ร่วมกับ - บริษัทผู้ผลิตรายการ/สถาบัน - ผู้สนับสนุนรายการ - เสนอ - ชื่อรายการ - ผู้ดำเนินรายการ/พิธีกร/นักแสดง - ทีมงาน
ทั้งนี้อาจมีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้างตามประเภทของรายการแตกต่างกันไป
6.การใช้เสียง

การใช้เสียงในไตเติ้ลรายการ เสียงที่พบในไตเติ้ลรายการมี 4 ลักษณะ คือ
-เสียงดนตรี
-คำพูดไตเติ้ลรายการ
-เพลง 3 ลักษณะ คือ เพลงแนะนำชื่อรายการ เพลงแนะนำรายการ เพลงแนะนำเนื้อหารายการ
-เสียงประกอบ จะใช้ประกอบคำพูดดนตรีหรือเพลงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์

7.ความยาว
ส่วนใหญ่มีความยาวประมาณ 10-60 วินาที ไม่จำกัดว่าเป็นรายการขนาดสั้นหรือยาว หรือรายการประเภทใดก็แล้วแต่

8.ลีลา ของไตเติ้ลรายการ


สีแดง แสดงความตื่นเต้นเร้าใจ
สีเหลือง ดูสดใส ศักดิ์ศรี
น้ำเงิน หนักแน่น จริงจัง
ฟ้า สุขสบาย โปร่งใส
เขียว สดชื่นเป็นธรรมชาติ
ม่วง มีเสน่ห์ ลึกลับ
ชมพู นุ่มนวล
สีสันหลากหลาย ตลก สดใส สนุกสนาน